อินเทอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องจากทั่วโลกมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทั่วโลก ในการติดต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีการระบุว่า ส่งมาจากไหน ส่งไปให้ใครซึ่งต้องมีการระบุ ชื่อเครื่อง (คล้ายกับเลขที่บ้าน) ในอินเทอร์เน็ตใช้ข้อตกลงในการติดต่อที่เรียกว่า TCP/IP (ข้อตกลงที่ทำให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันได้) ซึ่งจะใช้สิ่งที่เรียก
วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
โรคมือเท้าปากเปื่อย
โรคมือเท้าปากเปื่อยเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
พบได้บ่อยในทารกและเด็กเล็ก ทำให้มีอาการไข้ เป็นแผลในปาก มีตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ
ฝ่าเท้า และลำตัว จัดเป็นโรคที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่อยู่ไม่น้อย
สาเหตุของโรคมือเท้าปากเปื่อย
โรคมือเท้าปากเปื่อยเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส
ซึ่งมีมากกว่า 100
สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคที่พบได้บ่อย เช่น
คอกซากีไวรัส เอ16 (coxsackievirus A16) และเอนเทอโรไวรัส 71
(enterovirus 71) กลุ่มเสี่ยงที่พบบ่อยคือ
เด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
ซึ่งมักมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโต สำหรับผู้ใหญ่พบโรคนี้ได้บ้าง
การติดต่อของโรคมือเท้าปากเปื่อย
โรคมือเท้าปากเปื่อยสามารถติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากจมูก
ลำคอ น้ำลาย และน้ำจากตุ่มใส รวมถึงอุจจาระของผู้ป่วยที่มีเชื้ออยู่
และสามารถติดต่อโดยอ้อมจากการสัมผัสของเล่น พื้นผิวสัมผัสที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ
อาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ มือของผู้เลี้ยงดู
โดยสถานที่ที่มักพบการระบาดของโรค ได้แก่ สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล
และช่วงที่มักมีการระบาดของโรคนี้คือ ช่วงฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว อย่างไรก็ดี
โรคนี้ไม่ติดต่อจากคนสู่สัตว์หรือสัตว์สู่คน
ทั้งนี้ โรคนี้สามารถเป็นซ้ำได้อีก
เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์หนึ่งๆ
อาจไม่สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ ได้
แม้จะจัดอยู่ในกลุ่มย่อยของเชื้อไวรัสเดียวกัน
อาการและภาวะแทรกซ้อนของโรคมือเท้าปากเปื่อย
อาการเริ่มต้นของโรคมือเท้าปากเปื่อยจะคล้ายไข้หวัด คือ
มีไข้ประมาณ 2-4
วัน และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จากนั้นจะมีผื่นแดงอักเสบที่ลิ้น เหงือก
และกระพุ้งแก้ม ต่อมาเกิดผื่นแดงที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า ในบางรายอาจพบที่ก้นด้วย
โดยผื่นที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะกลายเป็นตุ่มพองใสและแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ
โดยส่วนใหญ่หากไม่มีอาการแทรกซ้อนอื่นอาการมักหายได้เองภายใน 7-10 วัน
อย่างไรก็ตาม
โรคมือเท้าปากเปื่อยอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
สมองอักเสบ อัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
ไปจนถึงเสียชีวิตได้ โดยอาการแทรกซ้อนไม่สัมพันธ์กับจำนวนแผลในปากหรือตุ่มที่พบตามฝ่ามือฝ่าเท้า ในรายที่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรงอาจมีแผลไม่กี่จุดในลำคอหรืออาจมีตุ่มเพียงไม่กี่ตุ่มตามฝ่ามือฝ่าเท้าก็ได้
ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกอย่างใกล้ชิดในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก
แม้จะดูว่าผื่นและแผลในปากหายไปแล้วก็ตาม โดยสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที
เช่น
·
เด็กมีอาการซึมลง ไม่เล่น ไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม
·
บ่นปวดศีรษะมาก ปวดทนไม่ไหว
·
มีอาการพูดเพ้อไม่รู้เรื่อง สลับกับการซึมลง หรือเห็นภาพแปลกๆ
·
ปวดต้นคอ คอแข็ง มีการรับรู้สับสน ซึมลง และอาเจียน
·
มีอาการสะดุ้งผวา ตัวสั่นๆ แขนหรือมือสั่นบ้าง
·
มีอาการไอ หายใจเร็ว ดูเหนื่อยๆ หน้าซีด มีเสมหะมาก
โดยอาจมีหรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้
การวินิจฉัยและการวินิจฉัยแยกโรค
แพทย์จะทำการวินิจฉัยแยกโรคตามอาการ โดยผู้ป่วยที่มีผื่นที่มือ
อาจต้องแยกออกจากโรคผื่นแพ้ โรคอีสุกอีใส ผื่นจากเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ
สำหรับโรคมือเท้าปากเปื่อย โดยทั่วไปแพทย์สามารถวินิจฉัยได้จากอาการและอาการแสดง
แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง แพทย์อาจทำการส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยัน
ซึ่งการตรวจเพิ่มเติมนี้ไม่จำเป็นต้องทำในผู้ป่วยทุกราย ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์
ได้แก่
·
การส่งตรวจตัวอย่างสิ่งคัดหลั่งและ/หรืออุจจาระเพื่อหาเชื้อไวรัส
(ใช้เวลาประมาณ 1-7
วัน ขึ้นกับวิธีการตรวจ)
o การตรวจหายีนของไวรัสด้วยวิธี polymerase chain reaction (PCR)
o การเพาะเชื้อไวรัส (virus culture)
การรักษาโรคมือเท้าปากเปื่อย
เนื่องจากในปัจจุบันโรคมือเท้าปากเปื่อยยังไม่มีการรักษาโดยเฉพาะ
การรักษาจึงเป็นการรักษาอาการทั่วๆ ไปตามแต่อาการของผู้ป่วย เช่น เจ็บคอมาก
รับประทานอะไรไม่ได้ ผู้ป่วยดูเพลียจากการขาดอาหารและน้ำ ก็จะให้พยายามป้อนน้ำ
นมและอาหารอ่อน ในรายที่เพลียมากอาจให้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลและให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด
ร่วมกับให้ยาลดไข้แก้ปวด และ/หรือหยอดยาชาในปากเพื่อลดอาการเจ็บแผลในปาก
ร่วมกับการเฝ้าระวังสังเกตอาการของภาวะแทรกซ้อนทางสมองและหัวใจ เป็นต้น
การป้องกันโรคมือเท้าปากเปื่อย
เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคมือเท้าปากเปื่อย
สิ่งสำคัญที่สุดคือการดูแลรักษาสุขอนามัยที่ดี
โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันโรคมือเท้าปากเปื่อย
รวมถึงป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้โดย
·
หลีกเลี่ยงการให้เด็กคลุกคลีหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย
·
รักษาอนามัยส่วนบุคคล
โดยเฉพาะผู้เลี้ยงดูเด็กเล็กควรล้างทำความสะอาดมือก่อนหยิบจับอาหารให้เด็กรับประทาน
และรับประทานอาหารที่สุก สะอาด ปรุงใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ดื่มน้ำสะอาด
·
ไม่ใช้ภาชนะในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะช้อน จาน
ชาม แก้วน้ำ ขวดนม
·
เมื่อเช็ดน้ำมูกหรือน้ำลายให้เด็กแล้วต้องล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว
·
รีบซักผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระให้สะอาดโดยเร็ว
และทิ้งน้ำลงในโถส้วม ห้ามทิ้งลงท่อระบายน้ำ
·
หากเด็กมีอาการของโรคมือเท้าปากเปื่อยให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์
และเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคมือเท้าปากเปื่อย ต้องให้เด็กหยุดเรียนอย่างน้อย 1 สัปดาห์
หรือจนกว่าแผลจะหาย
ในกรณีที่มีการติดเชื้อโรคมือเท้าปากเปื่อยชนิดที่มีอาการรุนแรงโดยเฉพาะมีการเสียชีวิต
เช่น เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71
สถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนอนุบาลอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการการป้องกันที่เข้มข้นขึ้น
เช่น
·
·
การปิดทั้งโรงเรียนเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์
ทำความสะอาดห้องเรียนและของเล่นต่างๆ
·
การคัดแยกเด็กป่วยออกตั้งแต่เดินเข้าที่หน้าประตูโรงเรียน
·
การหมั่นล้างมือ เช็ดถูทำความสะอาดห้องเรียนและของเล่นต่างๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)